Friday, April 1, 2011

ไม่ได้เข้าซะนาน

เป็นธรรมดา ของเคยๆ แต่ต่างสถานที่(เคย) ปกติเขียนอยู่ข้างนอก(บลอก) ไม่ค่อยได้เขียนข้างใน เพราะไม่ค่อยอยากให้ใครอ่าน(กลัวโง่ให้ใครๆ ดู ทั้งที่ก็โง่จริงๆ ๕๕๕)
เป็นปกติ(เหมือน/ไม่เหมือนธรรมดา?) คนเรามักคิดมากกว่าเขียน อันนี้จริงสำหรับคนบางคน ยิ่งเป็นคนแถบนี้(เอเชียตะวันออกเฉียงใต้)แล้ว คิด/พูดๆ มากกว่าเขียนแหงๆ (รึแน่ๆ ดี?) อันนี้ไม่แปลก เพราะคนแถวย่านบ้านเรานี้นับถือ"ตัวหนังสือ" เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อันเนื่องมาแต่โบราณการจดจารจารึกอักษรมักได้แก่คัมภีร์ทางศาสนา และสิ่งที่สื่อสารกันของ"ชนชั้นปกครอง" คนธรรมดารู้เรื่องที่ไหน (ศิลาจารึกต่างๆ ไม่ได้จารึกให้คนทั่วไปอ่าน แต่เขียนให้เทวดา) ยิ่งขู่ว่าศักดิ์สิทธิ์อยู่ด้วย คนทั่วไปเลยกลัว"ตัวหนังสือ"กันเข้าไปใหญ่ หนังสือกับคนแถวนี้เลยห่างกันออกไป เฮ้อ
อย่างไรก็ตาม(จะตามไปไหนล่ะพ่อ?) ต่อเมื่อพวกเราติดต่อกับฝรั่งมากๆ เข้า(ออกได้ไหม?) ซึ่งเป็นเผ่าพันธุ์ที่อ่านและเขียน"หนังสือ" มาก เราก็อ่านเขียนหนังสือกันแพร่หลายมากขึ้นๆ (อ่านว่า มากขึ้น มากขึ้น) และชนชั้นปกครองกลัวจะเสียคนที่จะปกครอง(ต่อ) เพราะมีคนเก่งกว่าจะมาเอาไป ก็ต้องปรับตัวให้"ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน" "รู้"หนังสือให้มากยิ่งขึ้น นี่ก็เป็นข้อดีของฝรั่งนะเนี่ย(อ้าว แล้วมันมีข้อเสียอะไรล่ะ?)
ผมพิเคราะห์ดูแล้ว จากประสบการณ์จากการอ่าน(การอ่านก่อให้เกิดประสบการณ์๕๕๕) ผมว่าไอ้นิสัย"ขี้อ่านขี้เขียน"เนี่ย(ขี้ในที่นี้ คือ อะไรที่คนๆ นั้น ชอบทำเป็นประจำมั่กๆ เช่น ขี้หลี ฯลฯ) มันฝังมาเนียนๆ กับยีนแน่ๆ เพราะว่าฝรั่งเป็นคนอยู่เมืองหนาว แต่โบราณก็อาศัยถ้ำอยู่ พูดกันมากก็ไม่ได้(ไอร้อนมันออก ฝรั่งเลยพูปากไม่ค่อยอ้า แถมเบาแล้วก็เร็วด้วย ฟังกันไม่ค่อยชัด) หน้าหนาวหิมะตกไม่รู้จะไปไหน พวกก็เลยขีดเขียนผนังเล่น เลยใช้ไอ้ตัวอะไรที่เขียน แทนเสียงพูด เพราะเข้าใจตรงกันดี ต่างจากเสียงพูดที่อาจฟังผิดเพี้ยน(จากลม หิมะ ฯลฯ ได้) ทำมานับศตวรรษมันเลยฝังเข้ากระดูกลงไปถึงยีนแน่ๆ(ฮาดีไหม?) ผิดกับคนแถวบ้านเรา เป็นคนท้องทุ่ง(นา) พูดจากันสบายๆ ถึงต้องตะโกนใส่กัน เพราะอยู่ที่โล่ง  ฟังกันก็รู้เรื่องดี แม้อยู่ไกลกันอ่านปากกันก็พอรู้เรื่องได้ (ต่อๆ มาคนแถวนี้พูดกันจะอ้าปากกว้างแถมช่างพูดและใช้โวหารต่างๆ มากกว่าฝร่ัง)เลยไม่ต้องหาตัวอะไรๆ มาแทนสิ่งที่พูด(ตอนนั้น) จะสื่อสารอะไรๆ ก็บอกต่อๆ กันเอา (เป็นที่มาของทฤษฎี"เขาว่า") แม้คำสั่งสอนทางลัทธิศาสนาก็นิยมใช้การ "ท่องบ่น" และ "บอก" หรือ "ต่อ" กันมากกว่า(เห็นได้จากบทสวดจะมีคำซ้ำๆ กันมาก เพราะกลัวลืม เช่น พุทฺธํ สรนํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรนํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรนํ คจฺฉามิ ต้องมีทุติยมฺปิ(ครั้งที่สอง) ตติยมฺปิ(ครั้งที่สาม) รวมสามเทียว กลัวลืม) ต่อมาจึงมาใช้ตัว"หนังสือ" จดจารจารึกคำสอนเอาก็เมื่อหลังพุทธกาลแล้วเกือบพันปี
มันน่าจะเป็นเช่นนี้แหละท่านผู้ชม รึว่าไม่?

No comments:

Post a Comment